เปิดวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้าน


เปิดวิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้าน


ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาในช่วงฤดูหนาวที่ใครหลาย ๆ คนต่างกังวล เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าการอยู่ในบ้านนั้นไม่ได้การันตีว่าจะปลอดภัยจากฝุ่น PM เสมอไป เพราะบ้านของเราก็มีช่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องประตูหรือช่องหน้าต่างที่เป็นจุดที่ฝุ่นขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 สามารถเล็ดลอดผ่านเข้ามาในบ้านได้ การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจึงกลายเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของครอบครัวและสังคมในปัจจุบัน เพราะถึงแม้เจ้าฝุ่น PM 2.5 นั้นจะเป็นฝุ่นขนาดจิ๋วแต่ PM 2.4 ก็นับเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและส่งผลต่อระบบร่างกายอย่างระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น การเตรียมการรับมือเพื่อป้องกันการเผชิญหน้ากับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของสมาชิกครอบครัวในระยะยาว ความอันตรายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่ควรรู้ ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate Matter 2.5 คือละอองฝุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นละอองฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมและเส้นขนของมนุษย์ที่มีขนาดประมาณ 50-70 ไมครอน โดยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 นั้นเกิดมาจากสาเหตุและมีที่มาอยู่หลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นการเผาไหม้จากการเผาขยะหรือการใช้ฟืน, การจราจรบนท้องถนน, แหล่งงานอุตสาหกรรมและโรงงานไฟฟ้า โดยฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มีความอันตรายอยู่มากมายหลายประการ - ขนาดของละอองฝุ่น PM 2.5: ด้วยอนุภาคขนาดเล็กของละอองขนาดเล็กอย่างฝุ่น PM 2.5 ทำให้ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 สามารถผ่านเข้ามาในระบบทางเดินหายใจได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีความเสี่ยงที่มากขึ้นเพราะสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจลึกเข้าไปจนถึงปอด - สารเคมีที่อาจติดมากับละอองฝุ่น PM 2.5: บางครั้งฝุ่น PM 2.5 อาจมีสารเคมีหรือสารพิษอื่น ๆ ที่ปลิวติดมาด้วย เช่น โลหะหนัก, สารพิษหรือสารที่มีผลกระทบที่มีความอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและระบบอื่น ๆ ในร่างกายซ฿งทำให้เป็นอันตรายกับร่างกายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ละอองฝุ่น PM 2.5 ที่มีที่มาจากการเผาไหม้ เช่น ไฟป่าหรือการเผาไหม้วัสดุทางการเกษตรก็มักมีสารเคมีอันตรายที่เป็นผลมาซึ่งอาจมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพของมนุษย์ - ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ: ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ง่าย ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก, ภาวะหัวใจเต้นเร็วและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคปอดและอาจทำให้เสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้สะสมอยู่ภายในบ้านจนส่งผลเสียและก่ออันตรายต่อสุขภาพ 1. ทำความสะอาดจุดต่าง ๆ และข้าวของภายในบ้านให้เรียบร้อย สิ่งที่ควรทำเป็นประจำและเป็นการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ดีที่สุดก็คือควรหมั่นทำความสะอาดจุดต่าง ๆ และข้าวของภายในบ้านให้เรียบร้อย เพราะไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่มีวัสดุที่ทำจากผ้าอย่างพรมเช็ดเท้า ผ้าม่าน ที่นอน หมอน ฟูก ผ้าห่ม เบาะรองนั่ง หรือเฟอร์นิเจอร์ผ้าก็เป็นสิ่งที่สะสมฝุ่นได้ดีและยังเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อโรคอื่น ๆ อีกด้วย และเพื่อให้บ้านของคุณมีความสะอาดและปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ คุณจึงควรทำความสะอาดจุดต่าง ๆ และข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านโดยเฉพาะข้าวของเครื่องใช้รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุผ้าอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ 2. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท แล้วเสริมตัวช่วยอย่างเครื่องฟอกอากาศ นอกจาก การทำความสะอาดจุดต่าง ๆ และข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การปิดประตูและหน้าต่างให้สนิทก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยป้องกันและลดฝุ่น PM 2.5 จากภายนอกที่อาจจะเข้ามาในบ้านได้ รวมถึงยังควรเสริมตัวช่วยอย่างเครื่องฟอกอากาศเพื่อให้เครื่องฟอกอากาศช่วยในการกรองฝุ่นละอองต่าง ๆ รวมไปถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ภายในบ้านมากยิ่งขึ้น 3. เช็คคุณภาพอากาศก่อนเดินทางออกนอกบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงฝุ่น PM ที่อาจติดเสื้อผ้า ควรเช็คคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ในทุกวันก่อนจะเดินทางออกจากบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองให้หลีกเลี่ยงจากพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศไม่ดี และเป็นการหลีกเลี่ยงฝุ่น PM ที่อาจติดเสื้อผ้าแล้วเข้ามาสะสมภายในบ้านหลังจากที่คุณกลับมาจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบ้านด้วย 4. หลีกเลี่ยงการตากผ้าในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน อีกสิ่งที่ช่วยป้องกันปัญหาที่จะตามมาจากฝุ่น PM 2.5 ได้ก็คือการหลีกเลี่ยงการตากผ้าในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐานเพื่อเป็นการปกป้องผิวหนังและระบบทางเดินหายใจของคุณจากฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ที่สามารถส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระบบทางเดินหายใจและการก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องซักเสื้อผ้าในวันที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินที่มาตรฐานกำหนดก็อาจเปลี่ยนจากการตากผ้านอกบ้านมาเป็นการนำผ้าตากมาในบ้านแทนหรืออาจใช้เครื่องอบผ้าเป็นตัวช่วยเพื่อลดการสัมผัสของเสื้อผ้ากับฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากผ้านั้นเป็นวัสดุที่สามารถกักเก็บและสะสมฝุ่นได้เป็นอย่างดี ...