เมื่อเราได้อยู่อาศัยภายในบ้านมาสักพักหนึ่ง เราอาจจะพบว่าฟังก์ชันต่าง ๆ และพื้นที่ภายในบ้านของเรานั้นควรจะได้รับการปรับเปลี่ยนให้เข้ากัลไลฟ์สไตล์และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น ใครหลาย ๆ คนจึงวางแผนในการรีโนเวทเพื่อขยับขยายพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านหรือคิดที่จะรีโนเวทบ้านเพื่อปรับปรุงบ้านในส่วนที่ทรุดโทรมหรือชำรุดไปให้กลับมาใช้งานได้เหมือนตอนซื้อบ้านใหม่ ๆ ซึ่งการรีโนเวทและขยายต่อเติมพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านนั้นอาจจะทำไม่ได้ตามที่เราต้องการแบบหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เสมอไป เพราะหากอิงตามกลักแล้ว ถ้าเรามีความต้องการที่จะดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของเรา เราจะต้องมีการพิจารณาตามหลักการก่อสร้างที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้างรวมไปถึงเป็นไปตามข้อบังคับทางกฎหมาย โดยจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงหรือปรับแต่งสิ่งก่อสร้างที่อาจจะไม่ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายภายในอนาคต และเป็นการป้องกันเรื่องการดำเนินการก่อสร้างและต่อเติมที่อาจสร้างความไม่สะดวกต่อบ้านบริเวณใกล้เคียงและอาจทำให้เกิดความขัดแย้งในหลาย ๆ กรณี โดยที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจด้วย วันนี้ทางโครงการแสนสราญจึงได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้านว่าสิ่งไหนที่เราสามารถทำได้หรือทำไม่ได้มาฝากทุกคนเพื่อให้ทุกคนได้นำไปศึกษาก่อนจะลงมือต่อเติม แก้ไขปรับปรุงหรือรีโนเวทบ้านกันนั่นเองค่ะ
เหตุผลที่เราควรศ฿กษากฎหมายเกี่ยวกับการปรับปรุงและต่อเติมบ้านก่อนเริ่มดำเนินการรีโนเวทบ้าน
การศึกษากฎหมายก่อนที่จะดำเนินการต่อเติมบ้านหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมนั้นจะช่วยให้เราเข้าใจถึงขอบเขตและความสามารถในการต่อเติม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวสิ่งก่อสร้างที่ถูกกำหนดไว้ในทางกฎหมายก่อนการดำเนินรีโนเวทและต่อเติมพื้นที่นั้น ๆ และอาจช่วยลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง ทั้งยังเป็นการป้องกันเรื่องความขัดแย้งทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเรากับเพื่อนบ้านหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือต่อเติมพื้นที่ภายในบ้านของเรา เพราะการศึกษากฎหมายจะช่วยให้เราทราบถึงข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและต่อเติมบ้าน เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการขออนุญาต, การประกอบกิจการก่อสร้างและกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีผลต่อการวางแผนและวางรูปแบบการดำเนินการรีโนเวทบ้านของเรา ดังนั้น การศึกษากฎหมายก่อนที่จะดำเนินการต่อเติมบ้านหรือก่อสร้างอาคารเพิ่มเติมไม่เพียงทำให้โครงการเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่ยังช่วยให้เรามีความเข้าใจทางกฎหมายที่สำคัญที่จะปกป้องการทำให้เกิดปัญหาในอนาคตและลดความเสี่ยงทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินการนั้นด้วยนั่นเอง
5 กฎหมายที่ควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน
1. มีพื้นที่ว่างและระยะห่างตามกฎหมาย: เมื่อทำการต่อเติมหรือรีโนเวทบ้านจะต้องเก็บพื้นที่ว่างไว้อย่างน้อย 30% เพื่อรักษาความสมดุลของโครงสร้างและต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับแนวทางและระยะห่างของตัวอาคาร เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางกฎหมายและลดความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การเกิอัคคีภัยหรือไฟไหม้ เพราะหากบ้านของเราติดกับบ้านของเพื่อนบ้านจนเกินไปอาจทำให้เกิดไฟลุกลามไปยังบ้านที่อยู่ใกล้กันจนเกิดความเสียหายหนัก เป็นต้น
2. ทำความเข้าใจและขอความยินยอมจากเพื่อนบ้าน: การสื่อสารและขอความยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันความขัดแย้งทางกฎหมายและยังเป็นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านเอาไว้
3. ทำการขออนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: เราจะต้องทำการขออนุญาตจากเจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติตามขั้นตอนและเอกสารที่กำหนดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อขอรับการอนุญาตและป้องกันปัญหาทางกฎหมาย
4. การต่อเติมต้องถูกควบคุมและการดำเนินการโดยสถาปนิกและวิศวกร: ต้องให้สถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้ควบคุมการต่อเติมสิ่งก่อสร้างและทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมการดำเนินการต่อเติมบ้าน เพื่อให้โครงการเป็นไปตามแผนและมาตรฐานที่กำหนดไว้
5. การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน: ควรปฏิบัติตามแนวของตัวอาคารและระยะร่วมที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องในการต่อเติมต้องและต่อเติมสิ่งก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในการต่อเติมบ้าน เพื่อรักษาปลอดภัยและโครงสร้างที่มีมาตรฐาน
รวมการปรับปรุงแก้ไขหรือต่อเติมบ้านที่ไม่ต้องทำการขออนุญาต
1. การเปลี่ยนโครงสร้างบ้าน: หากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านโดยใช้วัสดุเดิมที่มีขนาด จำนวนและชนิดของวัสดุเป็นชนิดเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนทำการปรับปรุง ยกเว้นถ้ามีการเปลี่ยนโครงสร้างเป็นวัสดุเหล็กจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่ได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านี้
2. การเปลี่ยนแปลงส่วนต่าง ๆ ของบ้านในกรณีที่น้ำหนักในส่วนต่าง ๆ ที่ต่อเติมเพิ่มไม่เกิน 10%: การดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายส่วนต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น เปลี่ยนผนัง เปลี่ยนพื้นกระเบื้องหรือเพิ่มความหนาบางของวัสดุในบ้าน หากมีการเพิ่มน้ำหนักส่วนต่างๆ ภายในบ้านไม่เกิน 10% จะได้รับการยกเว้นในการขออนุญาต
3. การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาคาร: หากมีการเปลี่ยนหน้าต่าง, ประตู, เพดานหรือฝ้าผนัง โดยที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่เกินเกิน 10% ของน้ำหนักเดิมจะได้รับการยกเว้นในการขออนุญาต
4. การเพิ่มหรือลดพื้นที่ที่รวมแล้วไม่เกิน 5 ตารางเมตร: การดำเนินการต่อเติม รีโนเวทหรือเปลี่ยนแปลงพื้นที่โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงจำนวนเสาหรือคาน เช่น การแปลงพื้นที่เดิมเป็นช่องโล่งหรือการเพิ่มเฉลียงบ้านจะได้รับการยกเว้นในการขออนุญาต
5. การเพิ่มหรือลดพื้นที่ส่วนของหลังคา: หากมีการเพิ่มหรือลดในส่วนพื้นที่ของหลังคาโดยมีขนาดไม่เกิน 5 ตารางเมตรและไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงเสาหรือคานจะได้รับการยกเว้นในการขออนุญาต
...